สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 17-23 กรกฎาคม 2563

 

ข้าว
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63
มติคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562 เห็นชอบแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63 และมติที่ประชุม นบข.ครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 เห็นชอบในหลักการตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63 ตามมติที่ประชุมคณะอนุกรรมการกำกับติดตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562 การดำเนินงานประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์ อุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 32.48 ล้านตันข้าวเปลือกอุปทาน 34.16
ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว ได้แก่
1.1) การกำหนดพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว เป้าหมายรอบที่ 1 จำนวน 58.99 ล้านไร่
โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าวแล้ว เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562 และรอบที่ 2จำนวน 13.81 ล้านไร่
1.2) การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เป้าหมาย รอบที่ 1 จำนวน 4.00 ล้านครัวเรือน และรอบที่  2 จำนวน 0.30 ล้านครัวเรือน
1.3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
1.4) การปรับปรุงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ การจัดรูปที่ดินและปรับระดับพื้นที่นา
1.5) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ (1) โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่
(นาแปลงใหญ่) (2) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข43 (3) โครงการส่งเสริมระบบเกษตร
แบบแม่นยำสูง (4) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ (5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์
(6) โครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าวหอมมะลิ (7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่
ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง (8) โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ไม่เหมาะสมกับการปลูกข้าวไปเป็นพืชอื่น (Zoning by Agri-Map)
(9) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย (10) โครงการปลูกพืชปุ๋ยสด และ (11) โครงการประกันภัยพืชผล
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ (1) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
รถเกี่ยวนวดข้าว และ (2) โครงการยกระดับมาตรฐานโรงสี กลุ่มเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน เพื่อเพิ่มศักยภาพ
การเชื่อมโยงตลาดข้าวนาแปลงใหญ่
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศได้แก่ (1) โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร
(2) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศ และต่างประเทศ พ.ศ. 2563-2565
(3) โครงการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมและสร้างการรับรู้ถึงคุณประโยชน์ของการบริโภคผลผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าว
(4) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวสาร Q และข้าวพันธุ์ กข43 ปีการผลิต 2561/62 (5) โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยว
และปรับปรุงคุณภาพข้าว (6) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร (7) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการในการเก็บสต็อก และ (8) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือก
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศได้แก่ (1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ (2) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมข้าว (3) การส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐานและปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย และ (4) การประชาสัมพันธ์การบริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
2) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันรายได้เกษตรกร
ผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1 ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 21,495.74 ล้านบาท เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านราคาไม่ให้ประสบปัญหาขาดทุน ลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาราคาข้าว และให้กลไกตลาดทำงานเป็นปกติ โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ดังนี้
2.1) ชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) โดยชดเชยเป็นจำนวนตันในแต่ละชนิดข้าว ดังนี้
ชนิดข้าว ราคาประกันรายได้ ครัวเรือนละไม่เกิน
(บาท/ตัน) (ตัน)
ข้าวเปลือกหอมมะลิ 15,000 14
ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ 14,000 16
ข้าวเปลือกเจ้า 10,000 30
ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี 11,000 25
ข้าวเปลือกเหนียว 12,000 16
กรณีเกษตรกรเพาะปลูกข้าวมากกว่า 1 ชนิด ได้สิทธิ์ไม่เกินจำนวนขั้นสูงของข้าวแต่ละชนิด เมื่อรวมกันต้องไม่เกินขั้นสูงของชนิดข้าวที่กำหนดไว้สูงสุดและได้สิทธิ์ตามลำดับระยะเวลาที่แจ้งเก็บเกี่ยวข้าวแต่ละชนิด
2.2) เกษตรกรผู้มีสิทธิได้รับการชดเชย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ปลูกข้าวระหว่างวันที่ 1 เมษายน - 31 ตุลาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน 2562 - 28 กุมภาพันธ์ 2563
2.3) ระยะเวลาที่ใช้สิทธิขอชดเชย เกษตรกรสามารถใช้สิทธิระหว่างวันที่ 15 ตุลาคม 2562 -
28 กุมภาพันธ์ 2563 ยกเว้นภาคใต้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 31 พฤษภาคม 2563 โดยสามารถใช้สิทธิได้ตั้งแต่
วันที่เก็บเกี่ยวเป็นต้นไป ยกเว้นเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวก่อนวันที่กำหนดให้ใช้สิทธิได้ตั้งแต่วันเริ่มโครงการ
2.4) การประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง คณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการฯ ได้ประกาศราคาอ้างอิง งวดที่ 1 - 4 ทุก 15 วัน โดยจ่ายเงินครั้งแรก ในวันที่ 15 ตุลาคม 2562 สำหรับเกษตรกรได้รับสิทธิตั้งแต่วันที่เก็บเกี่ยว - 15 ตุลาคม 2562 สำหรับงวดที่ 5 เป็นต้นไป ได้ปรับการประกาศใหม่เป็นทุกวันศุกร์
(ทุก 7 วัน) เพื่อให้ราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงมีความสอดคล้องกับข้อเท็จจริงในช่วงที่เกษตรกรเก็บเกี่ยวและจำหน่ายข้าว
3) โครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิต
ให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกร และช่วยลดต้นทุนการผลิต โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ วงเงินงบประมาณ 25,482.06 ล้านบาท ดังนี้
3.1) กลุ่มเป้าหมาย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) ประมาณ 4.31 ล้านครัวเรือน โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือไร่ละ 500 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่
3.2) ระยะเวลาจ่ายเงินสนับสนุน ตั้งแต่ 1 สิงหาคม - 31 ธันวาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ตั้งแต่ 1 สิงหาคม - 30 เมษายน 2563
4) โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว ปีการผลิต 2562/63
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2562 เห็นชอบโครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว
ปีการผลิต 2562/63 จำนวน 26,458.89 ล้านบาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกรสามารถดำรงชีพ
อยู่ได้ และลดภาระค่าใช้จ่ายในการเก็บเกี่ยวข้าวและปรับปรุงคุณภาพข้าวให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้นรวมถึง
เพิ่มขีดความสามารถในการประกอบอาชีพและยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร
4.1) กลุ่มเป้าหมาย เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี 2562 กับกรมส่งเสริมการเกษตร (กสก.) จำนวนประมาณ 4.57 ล้านครัวเรือน โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวเฉพาะเกษตรกรรายย่อยอัตราไร่ละ 500 บาทครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท โดยพื้นที่เพาะปลูก
ที่ได้รับการช่วยเหลือต้องไม่ซ้ำซ้อนกับพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติที่ได้รับเงินช่วยเหลือจากโครงการเยียวยาผู้ประสบภัยธรรมชาติจากรัฐบาลแล้วเว้นแต่เกษตรกรจะนำพื้นที่ประสบภัยนั้นไปแจ้ง กสก. เพื่อเพาะปลูกข้าวใหม่ทันในช่วงเวลาเพาะปลูกรอบที่ 1
4.2) ระยะเวลาโครงการ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2562 - 30 กันยายน 2563
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,680 บาท ราคาลดลงจากตันละ 14,736 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.38
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 8,929 บาท ราคาลดลงจากตันละ 8,953 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.27
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 32,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,590 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากตันละ 13,210 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.88
 
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ (31,427บาท/ตัน) ราคา
ลดลงจากตันละ 1,003 ดอลลาร์สหรัฐฯ (31,293 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.30 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ134 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 474 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,897 บาท/ตัน) ราคาเพิ่มขึ้นจากตันละ 459ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,320 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.27 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 577 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 461 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,488 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 449ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,008บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.67 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 480 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 480 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,085 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 472 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,726 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.69 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 359 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 31.4274
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
2.1 สถานการณ์ข้าวโลก
1) การผลิต
ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์ผลผลิตข้าวโลกปี 2563/64 ณ เดือนกรกฎาคมผลผลิต 502.628 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 494.292 ล้านตันข้าวสาร ในปี 2562/63 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.69
2) การค้าข้าวโลก
บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์บัญชีสมดุลข้าวโลก ปี 2563/64 ณ เดือนกรกฎาคม 2563 มีปริมาณผลผลิต 502.628 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2562/63 ร้อยละ 1.69 การใช้
ในประเทศ 498.466 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2562/63 ร้อยละ 1.76 การส่งออก/นำเข้า 44.973 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2562/63 ร้อยละ 5.91 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 185.830 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2562/63
ร้อยละ 2.52
โดยประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ ออสเตรเลีย กัมพูชา จีน กายานา อินเดีย ปารากวัย แอฟริกาใต้ ไทย และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ อาร์เจนตินา บราซิล ปากีสถาน และเวียดนาม
สำหรับประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ เบนิน บราซิล เบอร์กินา คาเมรูน ไอเวอรี่โคสต์ เอธิโอเปีย
อียู กานา กินี อิหร่าน เคนย่า มาเลเซีย เม็กซิโก โมแซมบิค ไนจีเรีย ฟิลิปปินส์ ซาอุดิอาระเบีย เซเนกัล แอฟริกาใต้
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เยเมน และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง ได้แก่ จีน และเนปาล
ประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ จีน อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา
ส่วนประเทศที่คาดว่าจะมีสต็อกคงเหลือปลายปีลดลง ได้แก่ บังกลาเทศ ฟิลิปปินส์ และไทย
 
2.2 สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
ไทย
นายชูเกียรติ  โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เปิดเผยถึงทิศทางการส่งออกข้าวไทย
ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2563 ว่าปัจจัยบวกต่อการส่งออกข้าวในขณะนี้คือเงินบาทอ่อนค่าลง และล่าสุดอยู่ที่ 31.70 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ประกอบกับราคาข้าวสารในประเทศลดลงจาก 15 บาทต่อกิโลกรัม มาอยู่ที่ 13 บาทต่อกิโลกรัม
ทำให้ช่องว่างราคาข้าวไทยกับประเทศคู่แข่งอย่างเวียดนามลดลง เช่น ก่อนหน้านี้ราคาข้าวขาว 5% ของไทย อยู่ที่ 500 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน ปรับลดลงเหลือ 440 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน ใกล้เคียงกับราคาข้าวเวียดนามที่ผ่านมา อยู่ที่ 460 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน แต่ปัจจุบันราคาข้าวเวียดนามได้ปรับลดลงลงอีกเหลือ 420 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน
นั่นคือจากเดิมราคาข้าวไทยแพงกว่า 50-60 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน ลดลงเหลือ 20-30 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน ทำให้แข่งขันได้มากขึ้น
อย่างไรก็ตาม “ช่วงไตรมาสที่ 3 การส่งออกจะต่ำเพราะประเทศนำเข้าอย่างฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย จะมีผลผลิตภายในประเทศออกสู่ตลาดและชะลอการนำเข้า ดูได้จากคำสั่งซื้อข้าวขาวใหม่ไม่มีเข้ามาเลย ทั้งๆ ที่ราคาข้าวไทย
ดีขึ้นสามารถแข่งขันได้การส่งออกในช่วงนี้จะเป็นการส่งมอบจากคำสั่งซื้อเดิม แต่หลังจากนี้อีก 1-2 เดือน หากค่าเงินบาทยังไม่แข็งค่าขึ้น ผลผลิตข้าวนาปรังรอบ 2 ที่จะออกสู่ตลาดช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายนนี้ คาดว่าจะมีประมาณ 3 ล้านตันน่าจะทำให้การส่งออกข้าวไทยดีขึ้นกว่าช่วงครึ่งปีแรกที่ส่งออกได้แค่ 3 ล้านตัน จากปัจจัยที่ส่งผลกระทบ ได้แก่
เรื่องโควิด-19 ราคาข้าวไทยที่สูงกว่าคู่แข่ง และหลายประเทศหันมาส่งออกข้าวในตลาดโลก เช่น อินเดีย พม่า และจีน”
จากปัจจัยดังกล่าว คาดว่าครึ่งปีหลังไทยจะส่งออกได้อีก 3.5 ล้านตัน ดังนั้นทั้งปี 2563 ปริมาณส่งออกน่าจะได้ประมาณ 6.5 ล้านตัน ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 7.5 ล้านตัน ถือว่าเป็นปริมาณต่ำสุดในรอบเกือบ 10 ปี ซึ่งตัวเลขอย่างเป็นทางการ สมาคมฯ จะมีการแถลงอีกครั้งในวันที่ 22 กรกฎาคมนี้ โดยสิ่งที่ภาคเอกชนจะเสนอคณะรัฐมนตรีใหม่คือให้ดำเนินการเร่งรัดจีนลงนามซื้อข้าวไทยในส่วนที่เหลือจากที่ลงนามบันทึกความเข้าใจไว้โดยเหลือที่ต้องนำเข้าจากไทยอีก 3 แสนตัน ซึ่งอาจจะช่วยพยุงราคาข้าวให้มีเสถียรภาพด้วย
นายจิติพล  พฤกษาเมธานันท์ ผู้อำนวยการอาวุโส บริษัทหลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ จำกัด (SCBS) กล่าวว่า ค่าเงินบาทยังคงอ่อนค่าลงและน่าจะเคลื่อนไหวอยู่ที่ 31.67-31.87 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นการอ่อนค่ามากสุดนับตั้งแต่
ต้นเดือนมิถุนายนเป็นต้นมา ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งจากแรงขายเก็งกำไรของต่างชาติในช่วงนี้ จากสาเหตุหลักที่ยังคงมีความกังวลกับการกลับมาระบาดของไวรัสโควิด-19 รอบใหม่ บวกกับตลาดการเงินที่ปิดรับความเสี่ยง และความไม่แน่นอนของนโยบายเศรษฐกิจจากการปรับคณะรัฐมนตรี แต่อย่างไรก็ตาม มองว่าสัญญาณการฟื้นตัวของเงินบาทจะกลับมาได้
ก็ต่อเมื่อเริ่มเห็นโอกาสในการกลับมาเปิดทำการเต็มตัวของภาคอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวทั่วทั้งเอเชีย
เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2563 นายธนพล  ธรรมโนขจิต ผู้จัดการตลาดกลางข้าวและพืชไร่ จังหวัดกาฬสินธุ์
เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา นอกจากจะส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจในหลายๆ ด้านแล้ว ยังส่งผลกระทบในเรื่องของราคาข้าวอย่างมากอีกด้วย เนื่องจากปัจจุบันราคา
ข้าวหอมมะลิตกต่ำจากเดิมราคาตันละ 17,000 บาท ลดลงเหลือตันละ 15,000 บาท ส่วนราคาข้าวเหนียวตันละ 17,000 บาท ปัจจุบันยังคงราคาเท่าเดิม ซึ่งจริงๆ แล้ว ราคาข้าวเหนียวควรจะต้องขยับขึ้น เพราะที่ผ่านมาหลายพื้นที่ประสบปัญหาภัยแล้ง ผลผลิตข้าวเหนียวมีน้อยแต่มีความต้องการมาก ทั้งนี้ จากผลพวงดังกล่าวเกิดจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ทำให้เศรษฐกิจซบเซา นักท่องเที่ยวไม่มีส่งผลให้โรงแรมขนาดใหญ่ที่ใช้ข้าวหอมมะลิหรือร้านอาหารปิดให้บริการจึงส่งผลให้ราคาข้าวไม่สูงเหมือนปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะข้าวเหนียว
“สำหรับสาเหตุที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้ข้าวเหนียวราคาตกต่ำ นอกจากสถานการณ์เชื้อไวรัสโควิด-19 แล้ว เกษตรกรยังประสบปัญหามีข้าวเหนียวจากประเทศเพื่อนบ้านลักลอบเข้ามาตามแนวชายแดนค่อนข้างมาก ซึ่งราคาถูกกว่าข้าวเหนียวบ้านเรา จึงส่งผลให้ราคาข้าวเหนียวตกต่ำจากปีที่ผ่านมาอย่างมาก โดยเมื่อปีที่ผ่านมาราคาข้าวเหนียวในช่วงเดียวกันนี้สูงถึงกิโลกรัมละ 18-20 บาท หรือตันละ 18,000-20,000 บาท แต่ปัจจุบันยังคงอยู่ที่กิโลกรัมละ
16-17 บาท หรือตันละ 16,000-17,000 บาท เท่านั้น ซึ่งปัญหาดังกล่าวภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเร่งแก้ไขปัญหาเพื่อบรรเทาความเดือนร้อนให้กับเกษตรกร”
ที่มา : มติชน
 
สถานการณ์ข้าวโลก
คาดการณ์การส่งออกข้าวจากช่วงครึ่งปีหลังต่อเนื่องไปอนาคตคาดว่ากัมพูชาจะมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในตลาดส่งออกข้าว
จากการรายงานร่วมกันของ 2 หน่วยงานได้แก่ องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) และองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ณ กรุงปารีส ได้คาดการณ์สถานการณ์ตลาดข้าวช่วง 10 ปี ตั้งแต่ปี 2563-2572 ไว้ดังนี้
ประเทศผู้ผลิตข้าวรายใหญ่ของโลกยังคงเป็น อินเดีย ไทย เวียดนาม และปากีสถาน ขณะที่กัมพูชาและเมียนมา คาดว่าจะมีบทบาทมากขึ้นในการส่งออกข้าว โดยการส่งออกข้าวของกัมพูชาและเมียนมาจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าจากประมาณ 4 ล้านตันในปี 2563 เป็น 7 ล้านตันในปี 2572 นอกจากนี้ กัมพูชา รวมถึงบังคลาเทศ ลาว และเมียนมา
จะสามารถเพิ่มปริมาณผลผลิตได้อย่างต่อเนื่องจากการใช้พันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตสูง และจากการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
สำหรับการค้าข้าวในตลาดโลก คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 ต่อปี โดยปริมาณจะเพิ่มขึ้นจาก 15  ล้านตันในปี 2563 เป็น 62 ล้านตันในปี 2572
นอกจากนี้ การรายงานยังคาดว่าอินเดียยังคงเป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดของโลก สำหรับไทย
คาดว่ายังคงเป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่อันดับสองของโลก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการส่งออกข้าวคุณภาพสูง
ส่วนเวียดนาม คาดว่าการเติบโตของตลาดส่งออกส่วนหนึ่งเกิดจากความหลากหลายของพันธุ์ข้าวที่มีอยู่ในประเทศ
อย่างไรก็ตาม ประเทศผู้ส่งออก 5 อันดับแรกของโลก ได้แก่ อินเดีย ไทย เวียดนาม ปากีสถาน และสหรัฐอเมริกา คาดว่าในปีนี้จะมีสัดส่วนการส่งออกที่ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา ขณะที่จีนได้สะท้อนให้เห็นถึงปริมาณการส่งออกข้าวในช่วงปี 2553 - 2559 ที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับปริมาณการส่งออกข้าวในปี 2562 นอกจากนี้ กัมพูชาและเมียนมามีความคาดหวังที่จะส่งออกข้าวได้มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ที่มา : Oryza


ผลผลิตข้าวโลก และบัญชีสมดุลข้าวโลก เดือนกรกฎาคม 2563

กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
 
 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.17 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.30 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.57 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.67 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 5.90 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.90
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ  8.76 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.98 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.45 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.31 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.46 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.77
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 286.80 ดอลลาร์สหรัฐ (9,013 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 294.20 ดอลลาร์สหรัฐ (9,179 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.52 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 166 บาท 
2. สรุปภาวะการผลิต การตาด และราคาในต่างประเทศ
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก ปี 2563/64 มีปริมาณ 1,160.12 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 1,121.72 ล้านตัน ในปี 2562/63 ร้อยละ 3.42 โดยสหรัฐอเมริกา จีน สหภาพยุโรป เม็กซิโก อียิปต์ เวียดนาม อาร์เจนตินา แคนาดา เกาหลีใต้ ไนจีเรีย และอิหร่าน มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้น สำหรับการค้าของโลกมี 182.84 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 175.59 ล้านตัน
ในปี 2562/63 ร้อยละ 4.13 โดยสหรัฐอเมริกา บราซิล ยูเครน รัสเซีย เซอร์เบีย และแคนาดา ส่งออกเพิ่มขึ้น ประกอบกับผู้นำเข้า เช่น สหภาพยุโรป เม็กซิโก เกาหลีใต้ เวียดนาม อียิปต์ อิหร่าน โคลอมเบีย แอลจีเรีย ไต้หวัน เปรู ซาอุดีอาระเบีย มาเลเซีย โมร็อกโก ชิลี อิสราเอล บราซิล โดมินิกัน กัวเตมาลา ตูนิเซีย และจอร์แดนมีการนำเข้าเพิ่มขึ้น
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกันยายน 2563 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 327.84 เซนต์ (4,112 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 329.64 เซนต์ (4,104  บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.55 แต่เพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 8 บาท




 


มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2563 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 – กันยายน 2563) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.74 ล้านไร่ ผลผลิต 28.531 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.27 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2562 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.67 ล้านไร่ ผลผลิต 31.080 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.59 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.83 แต่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 8.20 และร้อยละ 8.95 ตามลำดับ โดยเดือนกรกฎาคม 2563 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 0.34 ล้านตัน (ร้อยละ 1.19 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2563 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2563 ปริมาณ 18.40 ล้านตัน (ร้อยละ 64.50 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
ผลผลิตมันสำปะหลังออกสู่ตลาดลดลง และหัวมันสำปะหลังมีเชื้อแป้งต่ำ เนื่องจากมีฝนตกชุกและเป็นช่วงปลายฤดูกาลเก็บเกี่ยว สำหรับลานมันเส้นหยุดดำเนินการส่วนโรงงานแป้งมันสำปะหลังเปิดดำเนินการไม่มาก
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.63 ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 1.65 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.21
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.83 บาท ราคาสุงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.76 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.22
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.49 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.24 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 4.01
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.95 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 235 ดอลลาร์สหรัฐฯ (7,385 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัว เท่ากับสัปดาห์ก่อนในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (7,332 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้ไม่มีรายงาน

 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2563 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนกรกฎาคมจะมีประมาณ 1.502 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.270 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.545 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.278 ล้านตัน ของเดือนมิถุนายน คิดเป็นร้อยละ 2.78 และร้อยละ 2.88 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 3.13 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 2.91 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 7.56                                 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 19.28 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 18.50 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4,21  
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ราคาอ้างอิงเดือนตุลาคม ตลาดเบอร์ซามาเลเซีย ลดลง 0.34 เปอร์เซ็นต์ อยู่ที่ 2,647 ริงกิตต่อตัน The Council of Palm Oil Producing Countries (CPOPC) กล่าวว่า ปรากฎการณ์ลานีญาอาจส่งผลกระทบถึงผลผลิตของอินโดนีเซียและมาเลเซีย โดย CPOPC คาดการณ์ว่าผลผลิตของอินโดนีเซียในปี 2563 จะลดลงจากปี 2562 ไป 1-2 ล้านตัน ผลผลิตมาเลเซียปี 2563 คาดลดลง 4.3 เปอร์เซ็นต์ จากปี 2562 
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 2,734.50 ดอลลาร์มาเลเซีย (20.64 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 2,557.65 ดอลลาร์มาเลเซีย (19.13 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 6.91    
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 695.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22.14 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 643.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20.35 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 8.00
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน

 


อ้อยและน้ำตาล

       
 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 900.60 เซนต์ (10.54 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 885.92 เซนต์ (10.29 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.66
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 287.54 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.16 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 286.08 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.05 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.51
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 29.93 เซนต์ (21.02 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 28.53 เซนต์ (19.88 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.91


 

 
ยางพารา

 

 
สับปะรด

 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.78 บาท ลดลงจากราคากิโลกรัมละ 24.02 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.00
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน  
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน  
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,051.60 ดอลลาร์สหรัฐ (33.26 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 1,059.60 ดอลลาร์สหรัฐ (33.06 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.76 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.20 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 955.40 ดอลลาร์สหรัฐ (30.22 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 962.80 ดอลลาร์สหรัฐ (30.04 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.77 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.18 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,019.40 ดอลลาร์สหรัฐ (32.24 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 1,027.40 ดอลลาร์สหรัฐ (32.05 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.78 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.19 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 570.60 ดอลลาร์สหรัฐ (18.05 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 575.00 ดอลลาร์สหรัฐ (17.94 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.77 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.11 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,301.60 ดอลลาร์สหรัฐ (41.17 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ  1,311.80 ดอลลาร์สหรัฐ (40.93 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.78 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.24 บาท


 

 
ถั่วลิสง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.67 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.95 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 23.67 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.18 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน


 

 
ฝ้าย

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนตุลาคม 2563 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 62.47 เซนต์(กิโลกรัมละ 43.87 บาท) ลดลงจากปอนด์ละ 63.32 เซนต์ (กิโลกรัมละ 44.14 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.34 (ลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.27 บาท)

 
 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,760 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,750 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.57
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,417 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,429 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.84
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 875 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ปศุสัตว์

สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
  
สัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา ภาวะตลาดสุกรค่อนข้างคึกคักและคล่องตัว เนื่องจากความต้องการบริโภคเนื้อสุกรทั้งในประเทศและต่างประเทศเริ่มมีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง  แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  74.08 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 71.17 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 4.09 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 69.47 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 67.88 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 77.42 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 75.25 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 2,800 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.83 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 79.83 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.25

ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคไก่เนื้อเริ่มมีมากขึ้น ขณะที่ผลผลิตไก่เนื้อออกสู่ตลาดในภาวะปกติ แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.78 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 34.69 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.26 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 34.14 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 41.17 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 12.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  

ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
   
สัปดาห์นี้สถานการณ์ตลาดไข่ไก่ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดหลักของไข่ไก่คือสถานศึกษาเปิดภาคเรียน ส่งผลให้ความต้องการบริโภคมีมากขึ้นกว่าช่วงที่ผ่านมา แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 279 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 274 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.82 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 295 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 272 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 279 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 26.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ  7.69  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 335 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 341 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 346 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.45 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 361 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 355 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 307 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 360 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 380 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
   
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 92.16 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 93.13 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.86 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.77 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 96.56 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 85.64 บาท และภาคใต้ ไม่มีรายงานราคา

กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 73.33 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 71.67 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.31 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.12 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 70.08 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา

 
 

 

 
ประมง

สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 17 – 23 กรกฎาคม 2563) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
  สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 91.03 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 88.04 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.99 บาท
  สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ราคา  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 146.54 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 149.13 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.59 บาท
 สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 145.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 151.67 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 6.67 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง) ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 68.62 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 63.38 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.24 บาท
  สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง) ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
  สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 200.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.10 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 9.96 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.14 บาท              
 สำหรับราคาขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.00 บาท และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา